Hi Phonics

อ่านภาษาอังกฤษเก่ง ต้องรู้ 5 อย่างนี้

5 องค์ประกอบสำคัญของการอ่าน

 

การเรียนรู้วิธีอ่านเป็นหนึ่งในทักษะที่สำคัญที่สุดที่เด็กๆ สามารถเรียนรู้ได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่จะเริ่มเรียนภาษาต่างประเทศ เมื่อลูกของคุณเริ่มก้าวแรกในการเรียนภาษาอังกฤษนั้นเป็นการเริ่มเดินทางไปสู่เป้าหมายสำคัญซึ่งจะเป็นทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้ตลอดชีวิตในโลกกว้าง นั่นคือ การอ่านภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้องคล่องแคล่วและเข้าใจ

Nothing happens by chance – ไม่มีอะไรเกิดขึ้นโดยบังเอิญ การที่เด็กสามารถอ่านภาษาอังกฤษได้นั้นต้องมีการเรียนรู้และการปฏิบัติที่ถูกต้องจึงจะเห็นผลลัพธ์ได้เร็ว เราไม่ควรละเลยและคิดว่าน้องอยู่แค่อนุบาล 1 ยังไม่ต้องเรียนรู้อะไรมาก นั่นเป็น Fixed Mindset ซึ่งอาจทำให้น้องเสียโอกาสในการสร้างศักยภาพที่สำคัญของตน

ดังนั้น เพื่อให้การเริ่มเดินทางของ ‘การอ่านภาษาอังกฤษได้’ นี้ไปสู่จุดหมายโดยเร็ว เราควรรู้จักองค์ประกอบสำคัญห้าประการของการอ่านที่เด็กทุกคนต้องการเพื่อที่จะเติบโตเป็นผู้อ่านที่มั่นใจและอ่านได้อย่างคล่องแคล่ว

คณะกรรมการการอ่านแห่งชาติ (National Reading Panel) ได้ทำการวิจัยและพบหลักการที่ทำให้อ่านภาษาอังกฤษได้คล่องแคล่ว ซึ่งหลักการได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นทักษะการอ่านพื้นฐานอย่างแท้จริง

สิ่งสำคัญ 5 ประการในการอ่านสำหรับเด็กทุกคน มีดังนี้

1. การรู้จักหน่วยเสียง (Phonemic awareness)

 

คำทุกคำประกอบด้วยหน่วยเสียงแต่ละหน่วยมารวมกัน เช่น คำว่า ‘กิน’ มี 3 หน่วยเสียง ได้แก่ ‘กอ’ ‘อิ’ และ ‘นอ’

การรู้จักเกี่ยวกับหน่วยเสียง หรืออาจเรียกว่าเป็นความสามารถในการได้ยินและแยกแยะหน่วยเสียงได้ ตัวอย่าง คำว่า ‘กิน’

  • รู้ว่าเสียงเริ่มต้น คือ กอ
  • รู้ว่าเสียงลงท้าย คือ นอ
  • รู้ว่าเสียงตรงกลาง คือ อิ
  • รู้ว่า ‘บิน’ เป็นเสียงคล้องจ้องกับ‘กิน’

หน่วยเสียงจึงเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดที่สร้างภาษาพูด ภาษาอังกฤษประกอบด้วยหน่วยเสียงประมาณ 44 หน่วยเสียง หน่วยเสียงรวมกันเพื่อสร้างพยางค์และคำ ตัวอย่างเช่น คำว่า ‘stop’ มี 4 หน่วยเสียง (s-t-o-p) ในขณะที่ ‘shop’ มี 3 หน่วยเสียง (sh-o-p)

การรู้จักและรับรู้เกี่ยวกับหน่วยเสียงเป็นทักษะพื้นฐานอย่างหนึ่งที่เด็กๆ จำเป็นต้องได้รับเพื่อเรียนรู้วิธีการอ่าน เช่น การเล่นเกมคำศัพท์ การเล่นคำคล้องจอง และเพียงแค่ฟังผู้ปกครองอ่านให้ฟัง เด็กๆจะสามารถพัฒนาการได้ยินและแยกแยะหน่วยเสียงได้ตั้งแต่อายุยังน้อย

         คณะกรรมการการอ่านแห่งชาติได้รายงานว่า การสอนให้เด็กได้รับรู้และแยกแยะหน่วยเสียงเหล่านี้ หรือทางวิชาการเรียกว่า การรับรู้ทางด้านสัทศาสตร์ (Phonemic awareness) ช่วยพัฒนาการอ่านของพวกเขาอย่างมีนัยสำคัญมากกว่าเด็กที่ขาดทักษะด้านหน่วยเสียง

2  Phonics

 

Phonics คือกระบวนการจับคู่เสียงของอักษรกับตัวอักษรที่เขียน นี่เป็นหนึ่งในทักษะการอ่านที่เป็นพื้นฐานที่สุดที่เด็กควรได้พัฒนา เพราะมันแนะนำให้พวกเขารู้จักความเชื่อมโยงระหว่างตัวอักษรและเสียงที่เรียกว่าหลักการทางตัวอักษร เช่น รู้ว่าตัวอักษร k มีเสียงเป็น เคอะ

การขาดการสอนการออกเสียงในวัยเด็กอาจนำไปสู่ปัญหาในการอ่านต่อไป เป็นสิ่งสำคัญที่เด็กๆ จะเข้าใจแนวคิดที่ว่าข้อความที่พิมพ์ออกมานั้นเป็นตัวแทนของเสียงของคำพูด

3. ความคล่องแคล่ว

 

ความคล่องแคล่วคือความสามารถในการอ่านออกเสียงและทำความเข้าใจข้อความโดยไม่ต้องหยุดและถอดรหัสแต่ละคำ ผลการวิจัยของคณะกรรมการการอ่านแห่งชาติ ได้ข้อสรุปว่าการอ่านออกเสียงแบบมีคำแนะนำ หรือการอ่านซ้ำๆ มีผลบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อการจดจำคำศัพท์ ความคล่องแคล่วในการอ่าน และความเข้าใจในนักเรียนทุกวัย

การอ่านอย่างคล่องแคล่วไม่ควรสับสนกับเรื่องสำเนียง นักเรียนที่ไม่ใช่เจ้าของภาษาจำนวนมากจะอ่านและพูดภาษาอังกฤษด้วยสำเนียงของพวกเขา  พวกเขายังคงสามารถอ่านภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่วด้วยสำเนียงภาษาแม่

blog 5 components

4. การพัฒนาคำศัพท์

 

การพัฒนาคำศัพท์หมายถึงความรู้หรือข้อมูลเกี่ยวกับความหมายและการออกเสียงของคำที่สะสมเก็บไว้ ซึ่งจำเป็นสำหรับการเรียนภาษาอังกฤษหรือการสื่อสาร การพัฒนาคำศัพท์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเริ่มต้นอ่าน โดยเมื่อนักเรียนพูดคำใดคำหนึ่งและออกเสียง เขาต้องได้รู้ความหมายของคำ

การพัฒนาคำศัพท์ยังเป็นตัวกำหนดหลักในการทำความเข้าใจในการอ่าน ผู้อ่านไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาของสิ่งที่กำลังอ่านได้ เว้นแต่พวกเขาจะเข้าใจความหมายของคำส่วนใหญ่ในข้อความ

blog 10 pic

5. กลยุทธ์การอ่านเพื่อความเข้าใจ

 

ความเข้าใจในการอ่านเป็นจุดสูงสุดของทักษะการอ่านทั้งหมดและเป็นเป้าหมายสูงสุดของการเรียนรู้ที่จะอ่าน จุดประสงค์ของความเชี่ยวชาญของทักษะทั้งสี่ก่อนหน้านี้คือเพื่อให้เกิดความเข้าใจ

ความเข้าใจเป็นกระบวนการทางปัญญาที่ซับซ้อนที่ผู้อ่านใช้เพื่อทำความเข้าใจสิ่งที่พวกเขาอ่าน การพัฒนาคำศัพท์และการสอนกลยุทธ์การอ่านเพื่อความเข้าใจมีบทบาทสำคัญในการทำความเข้าใจสิ่งที่อ่าน คณะกรรมการการอ่านแห่งชาติกำหนดว่าผู้อ่านรุ่นเยาว์พัฒนาความเข้าใจข้อความผ่านเทคนิคต่างๆ เช่น การตอบคำถามในแบบทดสอบ

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!