Hi Phonics

การวิจัยโฟนิคส์

168668-OVJQ64-619

เด็กที่เรียนโฟนิคส์ สามารถอ่านได้สูงกว่าเกณฑ์ถึง 2 ปี

การวิจัยโฟนิคส์ ในประเทศอเมริกาได้มีการทำมากในช่วงปี 2513 ถึง 2543 จากหนังสือของ จีน ชอลล์ ทำให้คณะอ่านแห่งชาติ (National Reading Panel) ของอเมริกา (NRP) ได้รวบรวมและศึกษางานวิจัยที่มีอยู่ในช่วงนั้น และได้ผลการวิจัยว่าการสอนโฟนิคส์ อย่างเป็นระบบช่วยให้เด็กเรียนรู้วิธีอ่านและเขียนภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการออกเสียงที่ไม่เป็นระบบหรือการสอนแบบจำทั้งคำ

การวิจัยยุคใหม่ เมื่อปี 2556 ที่ประเทศอังกฤษ  Dr. Marlynne Grant นักจิตวิทยาด้านการศึกษาและเป็นกรรมการมูลนิธิการปฏิรูปการอ่านของประเทศอังกฤษ ได้ทำวิจัยทักษะการอ่านจากการสอนโฟนิคส์เป็นระยะเวลา 3 ปีกับเด็กเริ่มเรียนจนถึง 7 ขวบ ป. 2 จำนวน 30 คนในปี 2010 และติดตามการพัฒนาการอ่านของเด็กกลุ่มนี้ถึงปี 2013 จนจบชั้นป. 2 พบว่า

เด็กอายุ 7 ขวบกลุ่มนี้มีความสามารถในการอ่านโดยเฉลี่ยสูงกว่าความสามารถการอ่านตามเกณฑ์อายุของตนถึง 28 เดือน และความสามารถในการสะกดคำโดยเฉลี่ยสูงกว่าความสามารถการสะกดคำตามเกณฑ์อายุของตนถึง 21 เดือน

‘การสอนโฟนิคส์อย่างเป็นระบบเป็นการติดปีกให้เด็กสามารถอ่าน,สะกดคำและเขียนได้ดีอย่างก้าวกระโดด  และมันไม่มีหลักฐานที่แสดงว่าการสอนโฟนิคส์ทำให้เด็ก ‘ปิด (switch off)’ การรักการอ่าน ในทางตรงกันข้าม การสอนโฟนิคส์ทำให้เด็กอ่านได้เร็วขึ้น, มีความมั่นใจในการอ่านและกระตือรือล้นอยากท่องไปในโลกแห่งการอ่าน’ Dr. Grant กล่าว

การสอนโฟนิคส์ด้วยการสะกดแจกลูกคำทำให้อ่านถูกต้องมากกว่า

ปี 2558 การวิจัยในประเทศอังกฤษโดย Kathy Rastle พบว่าผลการสอนโฟนิคส์ด้วยวิธีอ่านแจกลูกสะกดคำ (Sounding out words)  ทำให้อ่านถูกต้องมากกว่าการอ่านแบบรวมคำทั้งหมด (Whole word) อย่างชัดเจน

การวิจัยโฟนิคส์ในประเทศไทย

ในประเทศไทย การวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษจากอดีตถึงปัจจุบัน ยังคงพบว่านักเรียนอ่านภาษาอังกฤษไม่ออก หรืออ่านได้บ้างตั้งแต่ชั้นประถมจนถึงมัธยมต้น

ปี 2549 พบว่า นักเรียนไม่สามารถอ่านคำ และสะกดตัวอักษรภาษาอังกฤษได้  เนื่องจากผู้เรียนขาดทักษะการอ่าน  การประสมคำ  นักเรียนมีพื้นฐานการเรียนรู้ในระดับชั้นอนุบาลแตกต่างกันจึงไม่ได้ฝึกพื้นฐานการอ่านเท่าที่ควร  นักเรียนจำเป็นต้องได้รับการแก้ไข

ปี 2553 ได้ทำการวิจัยเรื่องผลการใช้วิธีการสอนแบบโฟนิคส์ต่อความสามารถในการอ่านและเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  พบว่าการสอนโฟนิคส์ทำให้ทักษะการอ่านอังกฤษดีขึ้น  แต่ต้องสอนความรู้ด้านเสียงและตัวอักษรด้วย

ปี 2556 ได้ทำการวิจัยในชั้นเรียน เรื่องการแก้ปัญหานักเรียนขาดทักษะการสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้แบบการเทียบตัวอักษรของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนสามารถเทียบเสียงตัวอักษรภาษาอังกฤษได้ 2) นักเรียนมีทักษะการสะกดคำศัพท์ได้มากขึ้นเมื่อใช้แบบเทียบตัวอักษร โดยดูจากความถูกต้องในการอ่านแบบทดสอบ 3) นักเรียนสามารถพัฒนาทักษะการสะกดคำศัพท์ได้ดีขึ้น

ปี 2558 พบว่านักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปี ที่ 2-3 อ่านภาษาอังกฤษไม่ออก เนื่องจากไม่ทราบพื้นฐานของรูปและเสียงสระและพยัญชนะ  ขาดทักษะการเชื่อมโยงตัวอักษรและเสียงเข้าด้วยกัน  เมื่อเปล่งเสียงออกมาไม่ถูกต้องหรือไม่ชัดเจน สะกดคำไม่ถูก ไม่รู้ความหมายของคำที่อ่าน ผสมคำไม่ได้ แยกแยะตัวอักษรไม่ได้  ทำให้นักเรียนมีปัญหาด้านการอ่าน ส่งผลให้กลายเป็นเด็กขาดความมั่นใจ ไม่กล้าแสดงออก มีเจตคติที่ไม่ดีต่อวิชาภาษาอังกฤษและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษต่ำ

ปี 2558 ได้ทำการวิจัยการพัฒนาทักษะความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษด้วยการสอนโฟนิคส์  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า  1) การสอนแบบโฟนิคส์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 คุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด  โดยก่อนเรียนมี ค่าเฉลี่ย การอ่านอยู่ที   8.0 หลังจากการเรียนอ่าน โฟนิกมีค่าเฉลี่ย 14.7  2) ความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษของ กลุ่มที่ไม่ได้สอนโฟนิคส์ และ กลุ่มที่สอนโฟนิคส์ มีผลต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญ  3)  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการสอนโฟนิกอยู่ในระดับมากที่สุด 

ปี 2559 การอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่านักเรียนมีปัญหาในการอ่านสะกดคำไม่ถูกต้อง จึงทำให้เขียนคำศัพท์ไม่ถูกต้อง  เมื่อสอนโฟนิคส์จึงทำให้การอ่านดีขึ้นและสามารถสะกดคำได้อย่างมั่นใจขึ้น

การวิจัยโฟนิคส์ พบว่าผลการวิจัยที่สำคัญดังนี้

1. การสอนโฟนิคส์สามารถช่วยให้เด็กเรียนรู้วิธีอ่านได้ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

2. การสอนโฟนิคส์แบบชัดเจนจะให้ประโยชน์ดีกว่าการสอนไม่ชัดเจน

3. เด็กที่อ่านภาษาอังกฤษไม่ได้จะมีทักษะของโฟนิคส์ที่ต่ำและมีกลยุทธ์ในการอ่านน้อย

4. เด็กที่รู้จักอ่านแบบโฟนิคส์จะสามารถถอดรหัสคำได้มาก

5. กระบวนการการอ่านขึ้นอยู่กับความตั้งใจของผู้อ่านแต่ละคำแต่ละตัวอักษรในคำ

6. การสอนโฟนิคส์ช่วยพัฒนาความสามารถในการสะกดคำได้เป็นอย่างดี

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!